ยินดีต้อนรับ..

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

วันศุกร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2554

นายจ้างฟูจิตสึฯรุกหนัก พลิ้วไม่เจรจา กฎหมายบีบ สั่งขัง 15 คน

นายจ้างฟูจิตสึฯรุกหนัก พลิ้วไม่เจรจา กฎหมายบีบ สั่งขัง 15 คน

11 February 2011 One Comment

เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ศาลแรงงาน 2 จังหวัดชลบุรี แกนนำ สหภาพแรงานงานฟูจิตสึ เจเนอรัลประเทศไทย จำนวน 15 คน หญิง 2 ชาย 13 หลังศาลพิพากษา มีคำสั่งจำคุก 7 วัน ข้อหาละเมิดคำสั่งศาล ผู้นำแรงงานวุ่นวิ่งขอประกันตัวแต่ไม่ทัน ทั้งหมดถูกส่งเข้าเรือนจำกลางชลบุรี ส่วนผู้หญิงส่งเข้าทัณฑสถาน ม๊อบหน้าโรงงานโดนด้วย ให้รื้อเต๊นย้ายที่ชุมนุมใหม่
 
จากที่นายจ้างร้องต่อศาลแรงงาน 2 จังหวัดชลบุรี อ้างว่ากลุ่มผู้ชุมนุมมีการปิดกั้นขวางทางเข้าออกโรงงานและศาลมีหมายห้ามชั่วคราว เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2554 ความว่า ให้จำเลยทั้ง 16 (สหภาพแรงงานจำเลยที่ 1 และแกนนำ จำเลยที่ 2 ถึง 16) และศาลมีคำสั่งห้ามทั้งหมดกระทำการดังนายจ้างกล่าวอ้าง
 
เป็นเวลากว่า 45 วันแล้วที่กลุ่มพนักงาน กว่า 600 คน ของบ.ฟูจิตสึเจเนอรัลประเทศไทยจำกัดยังคงชุมนุมอยู่ข้างโรงงาน เนื่องจากถูกนายจ้างปิดงาน และไม่ยอมเจรจา เพื่อหาข้อยุติร่วมกัน ทั้งนี้ในส่วนของข้อเรียกร้องที่เจรจากันมาเป็นเวลานาน เหลือเพียง 1. โบนัสเรายื่นไปที่ 4.5 เดือนบวกเงิน 12,000 บาท แต่วันที่ 2 ก.พ.54 นายจ้างตอบรับที่ 4.2 เดือนเงินบวก12,000  บาท ทั้งนี้ในส่วนของข้อเสนอของนายจ้างลูกจ้างได้รับมาขอมติกับส่วนของสมาชิกสหภาพแรงงาน และได้รับฉันทามติในการยอมรับข้อตกลงแล้ว แต่มาเกิดเหตุการณ์จับกุมแกนนำเสียก่อน
 
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2554 เวลา 18.10 น.ภายในเต๊นผู้ชุมนุมยังคงมีแกนนำสหภาพแรงงานและสมาชิกสหภาพแรงงานกลุ่มแหลมฉบังสัมพันธ์นำโดย นาย สมควร โสนรินทร์ ประธานสหภาพแรงงานฟูจิตสึฯ นาย วัลลภ จั่นเพชร แกนนำสหภาพแรงงาน คงปรระกอบกิจกรรมตามปกติ โดยมี นาย สมพร ขวัญเนตร ประธานคณะทำงานกลุ่มแหลมฉบังสัมพันธ์ นาย เสมา สืบตระกูล เจ้าหน้าที่จัดตั้งสหภาพแรงงาน OLUC ร่วมให้กำลังใจและคำปรึกษากับกลุ่มผู้ชุมนุม
 
นาย วุฒิชัย รอดนุ้ย เหรัญญิกสหภาพแรงงานฟูจิตสึฯ เปิดเผยว่า ในวันนี้(8 กพ54) ช่วงเช้ากลุ่มผู้ชุมนุมได้ทำบุญเลี้ยงพระ โดยนิมนต์พระสงฆ์จากวัดใหม่เนินพยอม จำนวน 9 รูป ทั้งนี้เพื่อความเป็นศิริมงคลแก่ทุกๆคน แต่ช่วงบ่ายมีเจ้าหน้าที่ศาลมาส่งหนังสือ นัดสอบถาม โดยให้แกนนำทั้ง 15 คนเดินทางมาศาลแรงงาน 2 จังหวัดชลบุรีในวันที่ 9 กพ 54 เวลา9.00 น
นัดสอบ นายจ้างยื่นคำแถลง  ศาลชี้พนักงานไม่ปฏิบัติตามคำสั่งศาล พิพากษาคุมขัง  15 คนงาน  
 
เมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์  2554 เวลา 9.00 น. แกนนำสหภาพแรงงานฟูจิตสึ เจเนอรัลประเทศไทย ทั้ง 15 คน ประกอบด้วย 1 นาย สมควร โสนริทร์  2 นาย วัลลภ จั่นเพชร 3 นาย อภิเชษฐ สุขจันทร์ 4 นาย วุฒิชัย รอดนุ้ย 5 นาย สงกรานต์ ปานไธสง 6 นาย จำรอง ใจคำติ๊บ 7 นาย อุทิตย์ วงศ์จันทร์ 8 นาย บุญวัฒน์ สำเภอเงิน 9 นาย ปรีชา สุดเอียด 10 นาง ประภัสรา เพ้ยจันทึก 11 นาย อดิสร รุ่งสว่าง 12 นาย สุบิน จันทร์แดง 13 นาย ประครอง โทผา 14 นาง นิภาวรรณ พวงศรี  15 นาย กิตติศักดิ์ มหาฤทธิ์ พร้อมผู้นำแรงงานกลุ่มแรงงานกลุ่มแหลมฉบังสัมพันธ์และย่านใกล้เคียงร่วมให้กำลังใจและคอยให้ความช่วยเหลือ 
 
นาย ธนกร สมสิน ประธานสหภาพแรงงานมิชลินประเทศไทย ผู้ซึ่งได้ไปร่วมให้กำลังใจกลุ่มคนงานที่ศาลแรงงาน 2 จังหวัดชลบุรีเปิดเผยว่า ช่วงเช้าทุกคนได้เข้าห้องพิจารณาคดีโดยมีเฉพาะฝ่ายคนงาน 15 คนและฝ่ายนายจ้างประมาณ 10 คน  เนื่องจากห้องคับแคบตนเองและผู้นำแรงงานคนอื่นๆอยู่นอกห้องโดยได้สังเกตอาการของกลุ่มคนงานในห้องอยู่ตลอดเวลา ทุกคนยังมีสีหน้าและอาการที่ปกติดี หลังจากนั้นเป็นเวลาพักเที่ยง  ในช่วงบ่ายทุกคนได้เข้าห้อง ศาลขึ้นบัลลังค์อ่านคำพิพากษาว่าให้จำคุกคนงานทั้ง 15 คน เป็นเวลา 7 วัน ซึ่งทุกคนมีสีหน้าที่วิตกอย่างเห็นได้ชัด  และไม่สามารถจะเดินเรื่องประกันตัวได้ทัน
 
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2554 ที่ศาลแรงงาน 2 จังหวัดชลบุรี นาย ทวีป พรมมา ผู้ช่วยเหรัญญิก สหภาพแรงานมิชลินประเทศไทยซึ่งได้เดินทางมาเพื่อช่วยเหลือและประสานงานในการประกันตัวแกนนำทั้ง15 คนเปิดเผยว่า ได้ซื้อเงินประกันเป็นเงิน 700,000 (เจ็ดแสนบาท) เพื่อยื่นประกันตัวทั้งหมด โดยใช้เงินประกัน 50,000 บาท ต่อคน แต่ศาลอนุญาตแค่ 2 คน คือนาง นาง ประภัสรา เพ้ยจันทึก นาง นิภาวรรณ พวงศรี   หลังจากที่ทราบว่าศาลไม่อนุญาตให้ประกัน ตัว ญาตพี่น้องและครอบครัวที่เฝ้ารอคอยอิสระภาพของทุกคนต้องน้ำตาคลอ บางคนร้องไห้ออกมา บางคนก็ตัดพ้อว่าความผิดแบบนี้ทำไมถึงต้องทำกันขนาดนี้..ไม่ได้ไปฆ่าใครที่ไหน
 
นาง นิภาวรรณ หนึ่งในผู้ที่ถูกคุมขังและได้รับการประกันตัวอออกมาเปิดเผยว่า ตนเองอยู่ในกลุ่มผู้ชุมนุมนั้นทำหน้าที่เลขาธิการสหภาพ และวันๆก็อยู่ในเต๊นทำหนังสือแต่ไม่เข้าใจว่าอยู่ในกลุ่มผู้ทำความผิดตามที่นายจ้างกล่าวอ้างได้อย่างไร และความจริงพวกเราก็ไม่มีใครไปปิดกั้นตามที่นายจ้างกล่าวอ้าง ที่ผ่านมาเราถูกกระทำมาโดยตลอดไม่ว่าจะเป็นพื้นที่ชุมนุมก็มีการปิดกั้นรั้วสังกะสีตลอดแนวฟุตบาทซึ่งเป็นที่ของการนิคมฯทำให้พวกเราไม่มีที่อยู่ คล้ายๆกั้นไม่ให้เรามีพื้นที่ในการชุมนุม แต่พอเราอยู่กลางถนนกลับหาว่าเราปิดกั้นโรงงาน ช่วงบริษัทประกาศปิดงานก็ห้ผู้รับเหมาเข้าทำงานตลอดเวลา ยังมีกระแสว่าบริษัทให้บริษัทผู้รับเหมาประกาศรับคนงาน 500 อัตรา เพื่อเข้าทำงานด่วนพร้อมทั้งให้โปรโมชั่นพิเศษหลายอย่างอีกด้วย ที่ผ่านมาการเจรจาแต่ละครั้งสหภาพแรงงานก็ยอมถอนข้อเรียกร้องตามที่นายจ้างต้องการมาแล้วเกือบทุกข้อแต่นายจ้างก็สร้างเงื่อนไขใหม่ๆมาเรื่อยและบ่ายเบี่ยงไม่ยอมเจรจาเอาดื้อๆ โดยบางครั้งให้เหตุผลว่าไม่พร้อม
 
ทางด้านนาย สมพร ขวัญ เนตร ประธานคณะทำงานกลุ่มแรงงานแหลมฉบังสัมพันธ์ เปิดเผยว่า วันนี้(10 ก.พ. 54) ตนพร้อมผู้นำแรงงานได้เดินทางไปศาลแรงงาน 2 จังหวัดชลบุรี เพื่อขอประกันตัวกลุ่มคนงานทั้ง15 คน แต่ก็ต้องผิดหวังเมื่อศาลอนุญาตแค่ผู้หญิงสองคนที่เหลือไม่อนุญาตให้ประกัน 
 
ในส่วนของยุทธศาสตร์การต่อสู้วันนี้เราประชุมกันกับกลุ่มพนักงานและแกนนำรุ่นสอง สรุปว่า พรุ่งนี้จะมีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (สส.)ท่านหนึ่งในจังหวัด ชลบุรีอาสาที่จะไกล่เกลี่ยหาข้อยุติกันให้ พร้อมทั้งขอนิรโทษกรรมผู้ถูกดำเนินคดีทั้งหมด หากไม่จบเราก็จะเดินเท้าเข้าสมทบกับพี่น้องแรงงาน แมกซิส พีซีบี เอ็นทีเอ็น ที่ยังคงปักหลักรอพวกเราอยู่  พร้อมทั้งกล่าวว่าพรุ่งนี้หวังว่าศาลฎีกาที่เรายื่นอุทธรณ์คำสั่งจากศาลชั้นต้นเพื่อขอประกันตัวแกนนำนั้นผลการวินิจฉัยจะออกมาทัน ซึ่งพรุ่งนี้(11 ก.พ. 54) ก็คงต้องติดตามกันต่อไป นาย สมพรกล่าวเสริม
 
อนึ่ง บริษัท ฟูจิตสึ เจเนอรัล ประเทศไทย จำกัด  ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี  ซึ่งผลิตเครื่องปรับอากาศส่งอก เป็นหนึ่งในกลุ่มฟูจิตสึ ผู้ผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ที่สุดของประเทศญี่ปุ่น
 
สมหมาย ประไว สื่อสารแรงงานศูนย์ ชลบุรี ระยอง รายงาน

คนงานพีซีบีบุกเครือสหพัฒน์หวังพบนายจ้าง

คนงานพีซีบีบุกเครือสหพัฒน์หวังพบนายจ้าง

21 February 2011 No Comment

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2554 เวลาประมาณ 08.30 คนงานพิซีบี ที่ถูกนายจ้างเลิกจ้างโดยไม่จ่ายค่าชดเชยกว่า 500 คน โดยอ้างเหตุโรงงานไฟไหม้ ซึ่งในครั้งนั้นมีคนงานที่บาดเจ็บและเสียชีวิตด้วย ครั้งนี้มีคนงานกว่า 200 คน รวมกันเดินทางไปยังตึกสหพัฒนพิบูลย์ ถ.เพชรบุรีตัดใหม่ ได้รับการต้อนรับจากเจ้าหน้าที่ของทางตึกเมื่อได้ทราบข้อมูลปัญหาคนงานและแจ้งว่า ทางนี้จะรับแต่เรื่องของอาหารอุปโภคบริโภค เมื่อได้ยินเช่นนั้นทางแกนนำที่นำขบวนไป จึงตัดสินใจร่วมกันแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม อีกกลุ่มแยกออกไปที่ บ.สหพัฒน์อินเตอร์โฮลดิ้ง ซ.สาธุประดิษฐิ์ 58 หลังจากอีกกลุ่มไดแยกตัวออกไปแล้ว
 
เจ้าหน้าที่ของสหพัฒนพิบูลย์ได้เชิญคนงานที่เหลือเข้าไปในโรงอาหารพร้อมทั้งเลี้ยงน้ำดื่ม และได้เชิญคุณจี้ด(ไม่บอกชื่อจริง) ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคลของสหพัฒน์ฯมาพูดคุยด้วยเมื่อทางตัวแทนได้แจ้งข้อมูลให้ทราบแล้ว คุณจี้ดกล่าวว่า "เรื่องของทางบริษัท พีซีบี นั้นทางนี้ไม่ทราบข้อมูลเลย ทางนี้จะรัีบแต่ในเรื่องของอาหารอุปโภคบริโภคเป็นส่วนใหญ่แต่จะรับเรื่องไว้ และจะพูดคุยกับคุณสันติ วิลาศศักดานนท์ ให้ช่วยตามเรื่องให้ ไม่คิดว่าเหตุการณ์นี้จะเกิดขึ้นได้ เพราะนโยบายของทางสหพัฒน์ฯคือ การอยู่ร่วมกันแบบพี่น้อง ไม่ทอดทิ้งกัน ไม่คาดคิดว่าจะเกิดเหตุการณ์ลอยแพพนักงาน 500 กว่าคนนี้จะกิดขึ้น และขอโทษที่ให้การต้อนรับที่ไม่ดีในตอนแรกเพราะตกใจที่มากันเยาะกลัวว่าจะมีปัญหา"
 
ทางตัวแทนอีกกลุ่มที่เดินทางไปถึงยังตึกสหพัฒน์อินเตอร์โฮลดิ้ง ซ.สาธุประดิษฐ์58  เวลาประมาณ 14.00น.ได้ยื่นหนังสือให้กับคุณสุจิตรา โพธิ์สุข เจ้าหน้าที่ฝ่ายสำนักงานของทางบริษัทฯ กล่าวว่า"ไม่ทราบเรื่องของทาง พีซีบี มาก่อนและนำยื่นหนังสือส่งให้กับฝ่ายบริหารอีกที โดยอ้างว่าทางบริษัทฯไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้เพราะเป็นเพียงผู้ถือหุ้นรายหนึ่งเท่านั้น"
เมื่อได้รับข้อมูลจากอดีตลูกจ้างของพีซีบีว่า เป็นแมสเซนเจอร์ส่งเอกสารและได้มารับส่งเอกสารที่อยู่ในตึกนี้มาตลอดเป็นเวลานานแล้วในตึกนี้จะแบ่งเป็นโซนของแต่ละ
บริษัทฯที่อยู่ในกลุ่มของเครือสหพัฒน์จะมีเจ้าหน้าที่ ceo
 
ในเวลาประมาณ 15.30 น.ที่กระทรวงแรงงานได้มีการหารือร่วมกันเพื่อแก้ไขปัญหาระหว่างนายธวัช อรรถวรรัตน์ ผู้แทนฝ่ายนายจ้าง กับ นางรุ่งนภา ศรีเกิด /นายประกอบ พรหมสงค์ และผู้แทนกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี มีข้อสรุปดังนี้
 
1.บริษัทฯยอมรับว่าติดค่าจ้างค้างจ่าย ค่าชดเชย ให้แก่ลูกจ้างจำนวน 496 คน เป็นเงิน 61,948,323.94บาท
 
2.บริษัทฯแจ้งว่าได้จ่ายค่าจ้างตามมาตรา 75 ระหว่างวันที่ 1-21 ม.ค. ให้แก่ลูกจ้างรายวันแล้วตั้งแต่ 7กพ. โดยผ่านบัญชีของแต่ละคน
 
3.บริษัทฯตกลงรับว่าจะเจรจากับธ.กรุงเทพฯให้ยินยอมเบิกเงินจำนวน 6.5 ล้านบาท มาเฉลี่ยจ่ายให้ลูกจ้างก่อนภายใน28กพ.นี้
 
4.กรณีแต่งตั้งตัวแทนกรรมการร่วมสำรวจทรัพย์สินของบริษัทฯที่ไม่ติดจำนองมาจำหน่าย ตัวแทนบริษัทฯว่าต้องหารือที่บริษัทฯก่อนจะแจ้งความคืบหน้าภายในวันที่28กพ.นี้
 
5.กรณีเงินภาษีที่จะได้รับคืนจากสรรพากรบริษัทฯจะนำเงินมาคืนให้ลูกจ้างทันทีที่ได้รับเงินคืน
 

นายจ้างฟูจิตสึไม่จบ สั่งคนงานรายงานตัวลาพักร้อนต่อ

นายจ้างฟูจิตสึไม่จบ สั่งคนงานรายงานตัวลาพักร้อนต่อ

3 March 2011 No Comment
หลังการเจรจาจบ นายจ้างฟูจิตสึฯยังเล่นไม่เลิก ใครเข้าโครงการฯคดีจบ ใครเข้าทำงานคดีไม่จบ วันแรกบังคับคนงานพักร้อน 3 วัน อ้างคนข้างในไม่พอใจ
เมื่อเวลา 16 นาฬิกากว่าๆของวันที่ 1 มีนาคม 2554 นาย สมควร โสนรินทร์  ประธานสหภาพแรงงานฟูจิตสึ เจเนอรัล ประเทศไทย เปิดเผยกับนักสื่อสารแรงงานผ่านทางโทรศัพท์ว่า วันนี้ 1มีค.2554 เวลา 8.30 น. ณ ที่ทำการของ กนอ.หรือ BOI ในเขตนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ต.ทุ่งศุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี กลุ่มพนักงานประมาณ 450 คน ที่ประสงค์จะกลับเข้าทำงานต่อกับบริษัทฯนายจ้างได้เข้ารายงานตัว  โดยขั้นตอนนั้นทุกคนต้องเข้าปฐมนิเทศเสร็จแล้ว จับบัตรคิวและแบ่งเป็นชุดละๆ 20คน ถ่ายรูป กรอกรายละเอียดและทำประวัติใหม่ พร้อมออกเอกสารการลาพักผ่อนจำนวน 3วัน ตั้งแต่ วันที่ 3,4,5มีนาคม 2554 ให้ทุกคนเซ็นต์ชื่อยินยอมและนัดรายงานตัวอีกครั้งในวันที่ 7 มีนาคม 2554 เวลา 8.30 น.ที่ศาลาประชาคมอ่าวอุดม ต.ทุ่งศุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
พวกเราประมาณ 450 คนต้องการกลับเข้าทำงาน ส่วนเพื่อนๆ ประมาณ 150 คน สมัครเข้าโครงการของบริษัทฯคือลาออกและรับโบนัสตามเงื่อนไขของบริษัทฯ ส่วนประเด็นที่บริษัทฯบังคับให้ลาพักร้อนนั้นจริงๆ แล้ว ไม่เห็นด้วย และได้สอบถามบริษัทฯ ว่า ยังไม่ได้ทำงานทำไมถึงบังคับให้พักร้อน บริษัทฯอ้างว่า กลัวพนักงานที่ทำงานอยู่ไม่พอใจและอาจจะประท้วงเหตุเพราะคนที่อยู่ข้างนอกไม่ได้ทำงานแต่ได้รับเงินเดือนปกติ จึงต้องลดกระแสด้วยการให้ลาพักร้อน ซึ่งตนได้ปรึกษาแต่ได้ปรึกษาสมาชิกแล้วทุกคนยอม นาย สมควรกล่าวเสริม
                ทางด้านนายสมพร ขวัญเนตร ประธานคณะทำงานกลุ่มแหลมฯกล่าวว่า กรณีของบ.ฟูจิตสึฯ นั้น บริษัทฯมีเงื่อนไขว่าหากใครยอมรับเงื่อนไขของบริษัทฯโดยการลาออกก็  จะได้รับสิทธิประโยชน์ตามที่บริษัทฯประกาศแถมด้วยบริษัทฯไม่ดำเนินคดีทั้งอาญาและแพ่ง แต่หากใครเข้าทำงานก็ได้รับโบนัส 4.2 เดือน บวก 5,000 บาท และเงินปรับเกรด250บาท ตามข้อตกลงที่คุยกันแต่บริษัทฯไม่ยินยอมถอนคดีความ การจ่ายเงินก็มีกฎกติกาตามมาอีก ซึ่งตนคิดว่าว่าบริษัทฯคงมีแผนที่จะดำเนินการต่ออะไรสักอย่าง แต่ทั้งนี้ก็ต้องรอติดตามเหตุการณ์ว่าจะเป็นเช่นไรต่อไป
                                                                สมหมาย ประไว นักสื่อสารแรงงาน ศูนย์ชลบุรี-ระยอง รายงาน

ผู้นำสหภาพฯพื้นที่อุตสาหกรรมแหลมฉบังชี้ถูกละเมิดสิทธิต่อเนื่อง

ผู้นำสหภาพฯพื้นที่อุตสาหกรรมแหลมฉบังชี้ถูกละเมิดสิทธิต่อเนื่อง

21 March 2011 No Comment

ศูนย์ช่วยเหลือและจัดการวิกฤตแรงงานลงพื้นที่อุตสาหกรรมแหลมฉบัง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เร่งช่วยเหลือผู้นำสหภาพแรงงานที่ถูกนายจ้างละเมิดสิทธิและถูกกระทำอย่างต่อเนื่องโดยมุ่งเน้นประเด็นข้อกฎหมาย
เมื่อวันที่ 17 มีนาคม 2554 เวลา 18.30 น. ณ ห้องประชุมชั้น 2 สำนักงานกลุ่มแรงงานแหลมฉบังสัมพันธ์  ต.ทุ่งศุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี  คณะของศูนย์ช่วยเหลือและจัดการวิกฤตแรงงาน นำโดย คุณ ชฤทธิ์ มีสิทธิ์ ผู้จัดการโครงการและคณะจำนวน 7 คน จัดให้มีการประชุมปรึกษาหารือและกำหนดมาตรการช่วยเหลือแกนนำทั้ง 5 คนของสหภาพแรงงานมิชลินประเทศไทยที่ยังไม่ได้กลับเข้าทำงาน โดยมีผู้เข้าร่วมทั้งหมด  32 คน  ซึ่งมีนาย สมพร ขวัญเนตร ประธานคณะทำงานกลุ่มแรงงานแหลมฉบังสัมพันธ์ คณะกรรมการ ,อนุกรรมการสหภาพแรงงานมิชลินประเทศไทย ผู้นำแรงงานจากกลุ่มบ่อวินสัมพันธ์  และคณะอาสาสมัครสิทธิแรงงานในพื้นที่
คุณ ชฤทธิ์ มีสิทธิ์ กล่าวในที่ประชุมว่า หากกล่าวถึง สหภาพแรงงานมิชลินฯแล้ว ถือว่าทุกคนได้ก้าวผ่านอุปสรรคมาได้ระดับหนึ่ง ซึ่งที่ผ่านมาถือเป็นบทเรียนที่สำคัญ  สหภาพมิชลินฯมีเรื่องราวมากมายให้ศึกษาเรียนรู้ ไม่ว่าจะเป็นนักกฎหมาย นักศึกษา และทนายความ  เมื่อครั้งที่ไปจัดสัมมนาให้กับนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ ม.ขอนแก่น ตัวแทนของ สร.ได้ถ่ายทอดเรื่องราวต่างๆให้กับนักศึกษาได้เรียนรู้และมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น  สะท้อนมุมมองของคนงานที่ถูกนายจ้างละเมิดสิทธิซึ่งเป็นสิ่งที่ดี เพราะในอนาคตกลุ่มนักศึกษาเหล่านี้จะมีบทบาทสำคัญในการบังคับใช้กฎหมาย
เป็นจังหวะที่ดีของสหภาพฯมิชลินที่ศูนย์ฯตั้งขึ้นมาจากวิกฤตเศรษฐกิจพอดี และสร.มิชลินฯถือว่าได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจ ทางศูนย์ฯได้เป็นส่วนหนึ่งในการช่วยเหลือแบ่งเบาภาระ และสามารถประคับประคองกันให้เรายืนได้ ที่ผ่านมาคิดว่าทุกคนได้กลับเข้าทำงานกันหมดแล้ว แต่เพิ่งมาทราบอีกที เมื่อวันที่ 26, 27 กพ. 54 ที่จัดสัมมนาสรุปบทเรียนของ อสส.และอสร. ที่ จ.สมุทรสงคราม จากตัวแทนสร.ว่ายังมีแกนนำอีก 5 คนที่บริษัทยังไม่รับกลับเข้าทำงาน จึงมีการประชุมในวันนี้เพื่อหาทางให้ทั้ง 5 คน ได้รับสิทธิอันพึงมีพึงได้ตามเดิม นาย ชฤทธิ์ กล่าว
จากนั้น การประชุมได้ดำเนินสู่ประเด็นโดย คุณ ชฤทธิ์ ได้ให้ทั้ง 5คนที่ยังไม่ได้กลับเข้าทำงานเล่าเรื่องราวและความรู้สึกที่ตัวเอง
นาย สมหมาย ประไว เลขาธิการสหภาพมิชลินประเทศไทยหนึ่งในผู้ที่ยังไม่ได้กลับเข้าทำงาน เล่าความรู้สึกต่อที่ประชุมว่า ที่ผ่านมาหลังจากที่มีการชุมนุมประท้วงเพื่อให้บริษัทฯยุติการตัดค่าจ้าง 13.04% เมื่อช่วงเดือนมีนาคม 2552 นั้น ทุกวันนี้ตนเองกับพวก 5 คน ยังไม่ได้กลับเข้าทำงานในบริษัทเลย แถมยังถูกกดดันสารพัดเพื่อให้พวกตนไม่สามารถทนทำงานอยู่ได้ ไม่ว่าจะเป็นการตัดโบนัส,ตัดวันพักผ่อนประจำปี ส่งพวกตนเข้าฝึกปฏิบัติธรรมที่วัดถึง10วัน ส่งไปฝึกช่างเชื่อม,ช่างกลึงถึง 6เดือนจนกระทั่งพวกตนไปร้องคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์  คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ มีคำสั่งให้บริษัทมอบหมายงานในตำแหน่งที่ไม่ต่ำกว่าเดิม ภายในระยะเวลา 10 วัน บริษัทก็ยังละเลยอีก ยังคงให้พวกตนทำงานในส่วนของ Training on thejob หรือฝึกงานเชื่อม เจียร พ่นสี อยู่นอกโรงงานซึ่งเป็นโรงงานที่ปิดกิจการไปแล้วไม่มีโรงอาหาร ไม่มีสถานพยาบาล ไม่มีคนงาน นับเป็นเวลา 2ปีกว่าแล้ว แต่หากนับวันที่เข้าทำในส่วนTraining on thejob นั้นก็เป็นเวลา  212 วัน  ที่ไม่ได้เข้ารั้วโรงงาน แต่พวกตนก็ต้องอดทน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเราพยายามสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดีแก่นายจ้างมาตลอด ให้เราทำอะไรเราก็ยอมทุกอย่าง เพื่อที่จะสื่อว่าเรื่องราวต่างๆมันจบลงแล้วนะ เราควรหันมาจับมือกันร่วมกันสร้างบริษัทๆและองค์กรเพื่อความเจริญรุ่งเรืองของบริษัทๆ เพื่อการมีสวัสดิการที่ดีของพนักงานต่อไป แต่ทุกวันนี้รู้สึกว่าจะเป็นบริษัทเองที่จะตั้งแง่กับพวกเรามากกว่า ละเมิดสิทธิของเราหลายๆเรื่อง
ผมเรียนจบ ม.6 สาย วิทย์-คณิตฯ และต่อปวส. สายบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการ และทำงานที่บริษัทฯมาย่างเข้าปีที่ 16 แล้ว ก่อนมีการประท้วงผมทำในตำแหน่งพนักงานประกันคุณภาพ รับผิดชอบตรวจสอบเครื่องอบยางก่อนการผลิตยางรุ่นใหม่ๆ ตรวจสอบอุณภูมิ ระบบการอบ เวลา ของเครื่องให้ได้ตามกระบวนการและมาตรฐานตามที่กำหนด รวมทั้งวิเคราะห์ตัดสินใจยางที่เกิดปัญหาจากกระบวนการอบ ทำงานกะละ 1คนรับผิดชอบทั้งแผนก ผมไม่อยากจะคิดเลยว่า ผู้บริหารที่เมืองไทยสามารถปราบสหภาพแรงงานให้อยู่หมัด ไม่ให้โต บีบผู้นำ โดยใช้วิธีการที่ละเมิดสิทธิแรงงานมากมาย หากแต่เป็นห่วงชื่อเสียงของบริษัทยี่ห้อแบรนด์เนมที่เขาสร้างและรักษามาตลอดเป็นร้อยๆปี ซึ่งเขามีการให้สัตยาบันต่อกัน ไม่ว่าจะเป็นหลักของ OECD  หรือ อนุสัญญา ILO ว่าจะไม่กระทำกับคนงานอย่างไรบ้างแต่ไม่รู้ว่าผู้บริหารที่เมืองไทยคิดกันหรือเปล่าในข้อนี้ ซึ่งหากความจริงเรื่องของการละเมิดสิทธิแรงงานถูกตีแผ่สู่สังคมแล้วการจะกลับมาแก้ไขมันยากและลำบากกว่า ซึ่งถ้าถึงจุดนั้นผู้บริหารก็แค่ลาออก แต่ชื่อเสียงของแบรนด์ของยี่ห้อละ ใครจะรับผิดชอบ นายสมหมาย กล่าวเพิ่มเติม
                คุณ ชฤทธิ์ กล่าวในที่ประชุมต่อว่า เราจะมามองดูว่า คำสั่ง ครส.นั้น สั่งให้บริษัทมอบหมายงานในตำแหน่งงานที่ไม่ต่ำกว่าเดิม และให้บริษัทฯปฏิบัติภายใน 10วัน ประเด็นนี้น่าสนใจ ฉนั้นขอให้ทุกคนทำบทสรุปและศึกษาคำวินิจฉัยของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ คำร้อง คำขอของลูกจ้าง คำแก้ของนายจ้าง ข้อเท็จจริงของลูกจ้างนายจ้างที่คณะกรรมการฯวินิจฉัยจนนำมาซึ่งการตัดสิน ดังกล่าว แต่อย่างไรก็ตามหากเรามีการพูดคุยกับนายจ้างเรื่องการมอบหมายงานได้ก็จะเป็นการดี เพื่อหลักของแรงงานสัมพันธ์ที่ดี
                นาย สุทัศ ทีมนักกฎหมายหนึ่งในผู้เข้าร่วมประชุม แสดงความเห็นว่า เราควรกำหนดแผนการเดินเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาด เช่น เราควรยื่นหนังสือถึงนายจ้างก่อนดีมั๊ยเพื่อให้นายจ้างรับทั้ง 5คนกลับเข้าทำงาน หากนายจ้างไม่สนองเราก็ควรเดินแผนต่อไป หรือเราจะฟ้องดำเนินคดีเลย แต่หากจะดำเนินคดีต่อนายจ้าง ระหว่างนั้นพวกเราจะอยู่กันอย่างไร นี่ก็เป็นประเด็นเช่นกัน  
               หลายท่านที่เข้าร่วมประชุมต่างก็นำเสนอแลกเปลี่ยนความคิดเห็น การประชุมดำเนินมาจนกระทั่งเวลา 22.30 น.คุณ ชฤทธิ์ จึงกล่าวสรุป ขอให้ทุกคนไปศึกษาคำสั่ง ครส. และทำบทสรุป เกี่ยวกับ ตำแหน่งงานเดิม หน้าที่ความรับผิดชอบ ระดับเกรด ตำแหน่งงานใหม่ ความรับผิดชอบ ผลกระทบที่ได้รับ รวมทั้งข้อเท็จจริงอื่นๆ เพื่อจัดส่งให้ศูนย์ฯได้ช่วยวิเคราะห์ต่อไป
               ก่อนปิดการประชุม นาย ธนกร สมสิน ประธานสหภาพแรงงานมิชลินประเทศไทยกล่าวขอบคุณทีมคณะศูนย์ช่วยเหลือและจัดการวิกฤตแรงงานที่ได้ให้ความกรุณาและสละเวลามาช่วยเหลือรวมทั้งให้ความรู้ ขอให้ทุกท่านเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ จากนั้นจึงกล่าวปิดการประชุม
สมหมาย ประไว  นักสื่อสารแรงงาน ศูนย์ข่าวภาคตะวันออก รายงาน

คนงานผลิตอาหาร โชคร้าย เครื่องจักรบดมือเละ!! ทุกข์ซ้ำนายจ้างไม่ใยดี แถมทวงเงินค่ารักษา

คนงานผลิตอาหาร โชคร้าย เครื่องจักรบดมือเละ!! ทุกข์ซ้ำนายจ้างไม่ใยดี แถมทวงเงินค่ารักษา

1 April 2011 No Comment

คนงานผลิตอาหารในโรงงานนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบังโชคร้ายถูกเครื่องจักรบดมือ  ขาดสามนิ้วอีกสองใช้การไม่ได้ ทุกข์หนักไม่มีค่ารักษา  หวั่นนายจ้างลอยแพไม่เหลียวแล ซ้ำทวงค่ารักษา อ้างไม่จ่ายจะไม่ช่วยดูแล ลูกจ้างขอคุย กลับถูกปฏิเสธอ้างไม่ว่างคุย ผู้นำแรงงานรุดชี้แนะ พร้อมหาทางช่วยเหลือ  พี่สาวมีความหวัง หลังทำใจน้องคงเสียมือฟรี
 
นางสาว คำใส ผลทับทิม อายุ 31 ปี ชาวจังหวัดยโสธร คนงานผลิตอาหารประเภทเครื่องปรุง ในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ต.ทุ่งศุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เปิดเผยว่า ตนเองเป็นคนจังหวัด ยโสธร เดินทางมาทำงานในโรงงานผลิตอาหารแห่งหนึ่งในนิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง ปัจจุบันยังไม่มีครอบครัว พักอยู่กับพี่สาว และพี่เขยทำงานมา 5 ปีแล้ว เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2554 เวลาประมาณ 09.00 น. ซึ่งเป็นวันเกิดเหตุขณะที่ตนทำงานอยู่กับเครื่องจักรซึ่งเป็นเครื่องบดเนื้อ ในวันดังกล่าวเครื่องดึงถุงมือเข้าไปแต่ตนหยุดเครื่องได้ทัน มือยังเข้าไม่ลึกเท่าไหร่ และมีคนงานกัมพูชาได้เข้ามาช่วยเหลือตน แต่ด้วยการสื่อสารที่ไม่เข้าใจกัน คนงานกัมพูชาได้กดปุ่มปิด-เปิดเครื่องอยู่หลายครั้งเพื่อให้เครื่องทำงานและหมุนย้อนกลับ แต่เครื่องกลับดึงมือเข้าไปลึกยิ่งกว่าเดิมอีก จนไม่สามารถเอาออกได้  เจ้าหน้าที่ความปลอดภัยของบริษัทและมูลนิธิฯรวมทั้งโรงพยาบาลในพื้นที่จึงเข้ามาช่วยเหลือตน จนสามารถนำมือออกมาจากเครื่องได้ แต่สภาพมือนั้นเละเนื่องจากถูกเครื่องหนีบ  หลังจากที่ตนถูกส่งตัวเข้ารักษาโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งใน อ.ศรีราชา จังหวัดชลบุรี 
 
ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2554 หลังจากผ่าตัดมืออีกครั้ง หมออนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาลกลับบ้านได้ ช่วงระหว่างที่เข้ารับการรักษาอยู่นั้น นายจ้างบอกกับตนว่า ไม่ต้องเป็นห่วงบริษัทจะดูแลอย่างดี  แต่ปรากฏว่า ตั้งแต่ตนออกจากโรงพยาบาล ตัวแทนของบริษัทฯมาแจ้งกับว่าบริษัทได้จ่ายเงินในส่วนของการรักษา และค่าผ่าตัดไปแล้วและตนต้องจ่ายคืนบริษัทเป็นจำนวนเงิน  45,000 บาท  ซึ่งบริษัทบอกว่าหากไม่จ่ายเงินจำนวนนี้คืนให้บริษัทก่อนฯบริษัทจะไม่ช่วยเหลือใดๆอีกต่อไป ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาบริษัทก็ไม่เคยติดต่อมาเลย ตนและญาติพยายามติดต่อขอความช่วยเหลือหลายครั้งแต่บริษัทฯอ้างตลอดว่าไม่ว่าง หลังจากนั้นเงินเดือนก็ไม่ได้รับ ต้องเป็นภาระของพี่สาวและพี่เขยรวมทั้งเพื่อนๆที่ต้องมาคอยให้ความช่วยเหลือตน  จะไปหาหมอก็ไม่มีเงิน
นางสาว  คำใส กล่าวต่อว่า ตอนนี้เดือดร้อนอย่างหนัก มือขวาที่ตนเองถนัดใช้การไม่ได้ หยิบจับ เขียนหนังสือหรือจะกินอะไรลำบากมาก ค่ารักษาพยาบาลก็ไม่มี ทั้งภาระที่จะต้องส่งเสียเลี้ยงดูแม่ที่แก่มากแล้ว ไหนจะค่างวดรถอีก ไม่รู้จะทำอย่างไรเหมือนกัน 
 
ทางด้านพี่สาวของคุณ คำใส กล่าวว่า “ตั้งแต่น้องประสบอุบัติเหตุ และหลังจากที่บริษัทได้ช่วยเหลือค่ารักษาพยาบาล ค่าผ่าตัดเบื้องต้นแล้ว จากนั้นไม่ได้ติดต่อมาอีกเลย พยายามติดต่อหลายครั้งแต่อ้างไม่ว่าง ตนทำใจแล้วว่า น้องคงจะเสียมือฟรีๆ แต่พอดีพบมาผู้นำสหภาพแรงงานในกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก ได้เข้ามาช่วยแนะนำให้ดำเนินการ เพื่อให้ได้สิทธิตามที่ควรจะได้ ทำให้มีความหวังขึ้นมา โดยเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2554 น้อง คำใส ได้ไปที่ สถานีตำรวจภูธร (สภ.)แหลมฉบัง เพื่อให้เจ้าหน้าที่ตำรวจบันทึกเรื่องราวไว้เป็นหลักฐาน และพี่ๆผู้นำสหภาพแรงงานพาไปปรึกษากับเจ้าหน้าที่แรงงานที่สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรี รวมทั้งได้ประสานงานกับคุณ สมบุญ สีคำดอกแค สภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย เพื่อขอความช่วยเหลืออีกทางหนึ่ง ถ้าไม่ได้พี่ๆเขามาให้คำแนะนำ เราก็ไม่รู้จะไปเรียกร้องกับใคร เพราะติดต่อบริษัท บริษัทก็ปฏิเสธ  จะให้เราจ่ายเงินจำนวน  45,000 บาทก่อน ถึงจะช่วยเหลือต่อ คิดอยู่ก่อนหน้านี้ว่าน้องคงจะเสียมือฟรีๆ แต่ตอนนี้รู้สึกมีกำลังใจและมีความหวังมาบ้างแล้ว” พี่สาว คำใสกล่าวเพิ่ม 
 
คุณ ไกรฤกษ์ สมนึก ประธานสหภาพแรงงานมิตซูบิชิมอเตอร์ประเทศไทย คณะทำงานกลุ่มแรงงานแหลมฉบังสัมพันธ์ เปิดเผยว่า หลังจากทราบเรื่องของน้องจากเพื่อนผู้ใช้แรงงานด้วยกัน ได้ติดต่อกับผู้ประสบเหตุ พร้อมทั้งพาไปปรึกษาหารือกับเจ้าหน้าที่แรงงานเพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ประสานกับนายจ้างให้รับผิดชอบในกรณีของน้องเขา ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็ได้ประสานและเมื่อวันที่  29 มีนาคม 2554 เจ้าหน้าที่แรงงานเข้าตรวจเยี่ยมโรงงานพร้อมทั้งดูที่เกิดเหตุ แต่บริษัทอนุญาตให้คุณ คำใส เข้าเท่านั้น ส่วนรายละเอียดนั้นยังไม่ทราบเป็นที่แน่ชัด อีกทั้งในวันที่ 4 เมษายน 2554 ทางสภาเครือข่ายกลุ่มผู้ป่วยจากการทำงานและสิ่งแวดล้อมแห่งประเทศไทย มีการจัดสัมมนาเกี่ยวกับลูกจ้างที่เจ็บป่วยด้วยโรคและประสบอันตรายจากการทำงานในภาคอุตสาหกรรมที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ กทม.ตนจะพาเขาเข้าร่วมด้วย
 
สมหมาย ประไว นักสื่อสารแรงงานภาคตะวันออก รายงาน

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

ความคืบหน้า สหภาพแรงงานฟูจิตสึ เจเนอรัล ประเทศไทย แหลมฉบัง

ความคืบหน้า สหภาพแรงงานฟูจิตสึ เจเนอรัล ประเทศไทย แหลมฉบัง
          
                เมื่อวันที่ 12 มกราคม 2554 เวลาประมาณ บ่ายโมง มีการเจรจาระหว่างตัวแทนสหภาพแรงงานฯและตัวแทนบริษัทฯ ณ เทศบาลนครแหลมฉบัง ผลการเจรจายังไม่สามารถยุติปัญหาได้
      
 นาย สมควร โสนรินทร์ ประธานสหภาพเปิดเผยว่า การเจรจานั้น สหภาพแรงงานและสมาชิกได้มีมติยอมถอนข้อเรียกร้องตามที่บริษัทฯร้องขอ คือ 1 กรรมการทำงานเต็มเวลา 2 ท่าน 2) ให้บริษัทถอนฟ้อง

กรรมการลูกจ้าง นาย วัลลภ จั่นเพชร   แต่บริษัทฯกลับมีเงื่อนไขเพิ่มขึ้นมาอีกคือ จะไม่จ่ายเงินโบนัสในส่วนของเงินบวก 12000 บาท โดยอ้างว่าที่ผ่านมาบริษัทฯได้รับความเสียหาย ซึ่งประเด็นนี้เองทำให้

สหภาพแรงงานและสมาชิกต้องกลับมาคุยกันใหม่ว่าจะดำเนินการเช่นไร

                นาย สมควร กล่าวต่อว่า วันนี้(วันที่  13 มกราคม2554)ได้เดินทางไปยื่นหนังสือต่อนายกรัฐมนตรี นาย อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และร้องเรียนต่อรัฐมนตรีกระทรวงแรงงาน นาย เฉลิมชัย ศรี

อ่อน เพื่อขอความช่วยเหลือให้นายจ้างตัวจริงซึ่งมีอำนาจในการตัดสินใจได้เข้าเจรจาเพื่อยุติปัญหา หากปล่อยให้เนิ่นนานจะเกิดความเสียหายแก่ทั้งสองฝ่าย ซึ่งทั้งสองท่านได้รับเรื่องไว้แล้ว

สถานการณ์ของผู้ชุมนุมขณะนี้บางเดือดร้อน ถึงกับร้องไห้ ไม่มีเงินใช้  และในวันที่ 14มกราคม 2554 เวลา 8.00 น.จะรวมตัวที่หน้าบริษัทฯเพื่อตกผลึกอีกที่ว่าจะขับเคลื่อนอย่างไร  ส่วนการเจรจาจะมีขึ้นอีก

ในวันที่ 21 มกราคม 2554 ณ เทศบาลนครแหลมฉบัง

                      นาย สมหมาย ประไว  นักข่าวพลเมือง กลุ่มสื่อสารแรงงานภาคตะวันออก รายงาน

วันอังคารที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2554

คนงานฟูจิตสึฯร้องเดือดร้อนหนัก นายจ้างปิดงาน คนท้องโอด ไม่มีเงินไปพบหมอ

โปรดอ่านข้อความนี้ให้จบและกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง  เพื่อความเป็นธรรมในสังคม
**บริษัทสั่งปิดโรงงานไม่มีกำหนดเปิด**
      บริษัทฟูจิตสึ เจเนอรัล (ประเทศไทย) จำกัด  ตั้งอยู่ในนิคมแหลมฉบัง จังหวัดชลบุรี
เป็นบริษัทเครื่องปรับอากาศที่ส่งออก ในขณะนี้ได้มีการเจรจาข้อเรียกร้องประจำปี  2553
ซึ่งบริษัทมีผลประกอบการ  17,900 ล้านบาท  แต่บอกกับลูกจ้างว่าขาดทุน  โดยให้ค่าจ้าง
และสวัสดิการที่ต่ำกว่าบริษัทที่ผลิตเครื่องปรับอากาศด้วยกันอย่างมาก  ทำให้ลูกจ้างรู้สึกไม่ได้
รับความเป็นธรรม  จึงเป็นเหตุให้ลูกจ้างได้เรียกร้องครั้งนี้  แต่นายจ้างมิได้มีความจริงใจในการ
เจรจา  และยังสั่งปิดกิจการชั่วคราวถึง 2 ครั้ง  เพื่อเป็นการกดดันลูกจ้างให้ยอมรับข้อเสนอ
ที่ไม่เป็นธรรมจากบริษัท  และยังมีการกลั่นแกล้งลูกจ้างอีกมากมายดังภาพวีดีโอที่แนบมาให้
ในขณะนี้บริษัทไม่ยอมเจรจากับลูกจ้างยังไม่พอ  ยังไปรับแรงงานรับเหมาจากต่างประเทศเข้า
มาทำแทน ทำให้ลูกจ้าง 620 คนได้รับความเดือดร้อนอย่างมาก  บริษัทสั่งปิดตั้งแต่วันที่ 25
ธันวาคม 2553 ถึงปัจจุบัน  จึงอยากให้สังคมรับรู้  และเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องให้ความ
ช่วยเหลือ เพื่อให้ลูกจ้างกลับเข้าไปทำงานและได้รับเงินค่าจ้างตามเดิม  เพราะขณะนี้ลูกจ้างได้รับ
ความเดือดร้อนมากจึงขอความเป็นธรรม

วันศุกร์ที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2554

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More