ยินดีต้อนรับ..

xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx xxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxxx

วันเสาร์ที่ 25 กันยายน พ.ศ. 2553

การไม่ยอมรับการมีสหภาพ

บริษัท สยามมิชลิน จำกัด ซึ่งตั้งอยู่ที่ นิคมอุตสาหกรรมแหลมฉบัง จ.ชลบุรี ก่อตั้งเมื่อปี 2531 ด้วยทุนจดทะเบียน 3,817 ล้านบาท บริษัทฯแม่อยู่ที่ประเทศฝรั่งเศส ประกอบกิจการผลิตยางรถยนต์ ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2552 บริษัทฯ ประกาศลดเงินเดือนพนักงานลง 13.04% ผู้บริหารและระดับจัดการหัก 5% โดยที่ไม่ยอมรับฟังเสียงคัดค้านจากพนักงานเลย ซึ่งกระผมขอลำดับเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้น ดังนี้ หลังจากที่การเจรจาไม่มีข้อยุติ













27-28 เม.ย.52 แกนนำ 20 คนถูกฝากขังที่เรือนจำกลางชลบุรี 2 วัน 1 คืนข้อหาละเมิดอำนาจศาลขณะเดียวกันกลุ่มที่ยังประท้วงอยู่หน้าโรงงาน ก็ได้มีการตั้งตัวแทนเจรจา ผลการเจรจาได้ข้อยุติเมื่อเวลา 03.00 น. วันรุ่งขึ้นศาลมีคำสั่งให้ปล่อยตัวไปเนื่องจากได้ตกลงกันแล้วก็ยุติการหยุดงานและนายจ้างยุติการปิดงาน
ที่ข้อเรียกร้องยุติลงเมื่อเดือนเมษายน2552 แต่เหตุการณ์กลับไม่ได้สงบลงตาม ลำดับเหตุการณ์ได้ดังนี้
27 เมษายน 2552 แนนำ  20  ถูกศาลแรงงานภาค 2 ชลบุรีสั่งจำคุก 1 วัน 1คืนก่อนตกลงข้อเรียกร้องได้ 1 วัน
20 -27 เมษายน 2552 บริษัทฯและพนักงานบางส่วนแจ้งความดำเนินคดีอาญาแกนนำทั้งหมดแต่ในส่วนของบริษัทฯหลังจากข้อเรียกร้องยุติตกลงไม่เอาความผิดทั้งทางแพ่งและอาญา
18 มกราคม 2553 บริษัทฯเรียกพนักงานชุดสุดท้ายกลับเข้าทำงาน แต่ต้องไปเข้าปฏิบัติธรรมที่วัดเป็นเวลาครึ่งเดือน
2 กุมภาพันธ์ 2553 บริษัทมีคำสั่งให้แกนนำ 12 คนไปฝึกพัฒนาฝีมือแรงงานที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดชลบุรีในสาขาช่างเชื่อมไฟฟ้าด้วยมือ ระยะเวลาฝึก สามเดือนจากนั้นต่อด้วยช่างกลึงอีก สามเดือน รวมเวลาฝึกทั้งหมดหกเดือน แกนนำทั้ง 12 คน คัดค้านการส่งตัวไปฝึกดังกล่าวด้วยเหตุผลเป็นงานที่ไม่เคยทำมาก่อน และไม่ตรงกับสายงานที่ทำอยู่
(อายุเกือบจะ 50 แล้วครับ)
10 มีนาคม 2553  บริษัทออกใบเตือนให้พนักงานทั้ง 12 คน ข้อหาไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
27 มิถุนายน 2553 คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ มีคำตัดสิน เป็นการกระทำที่ไม่เป็นธรรม มีคำสั่งให้บริษัทฯรับแกนนำทั้ง 12 คน กลับเข้าทำงานในตำแหน่งหน้าที่ที่ไม่ต่ำกว่าเดิม ภายในกำหนดเวลาไม่เกิน 10 วัน
21กรกฎาคม 2553 บริษัทฯมีคำสั่งยกเลิกการฝึกอบรมที่สถาบันฯและให้เข้าปฐมนิเทศเพื่อเตรียมตัวกลับเข้าทำงานตามคำสั่ง ครส.
16 กรกฎาคม 2553 บริษัทฯเรียกแกนนำ 7 คนเข้าทำงานในตำแหน่งงานใกล้เคียงตำแหน่งงานเดิม อีก 5 คน ประกอบด้วย ประธานสหภาพฯ เลขาธิการสหภาพฯและกรรมการสหภาพฯให้ทำงานในตำแหน่งช่างเชื่อมรับงานซ่อมของเสียทั้งโรงงาน ซึ่งสถานที่ทำงานเป็นอาคารร้างอยู่นอกบริเวณบริษัทฯไม่มีพนักงานของบริษัททำงานอยู่ มีกล้องวงจรปิด และหัวหน้างานคุมตลอดเวลา
        จวบจน ณ ปัจจุบันแกนนำทั้ง 5 คนยังคงปฏิบัติงานอยู่ ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามก็ต้องถูกใบเตือนตามมาอีกครั้ง รวมทั้งคดีอาญาที่หัวหน้างานและพนักงานบางคนได้แจ้งความไว้ก็ยังเป็นชนักติดหลังอยู่ โดยศาลอาญาพัทยานัดสืบพยานในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2554 
        ในนามของสหภาพแรงงานมิชลินประเทศไทยขอเรียกร้องให้เจ้าหน้าที่รัฐที่เกี่ยวข้อง,เจ้าของบริษัทฯ,พี่น้องสื่อมวลชน พี่น้องผู้ใช้แรงงาน และประชาชนทั่วไปได้ช่วยกดดันให้บริษัทฯ มอบความยุติธรรม ศักดิ์ศรีความเป็นลูกจ้างและความเป็นมนุษย์ที่ซึ่งมนุษย์ทุกคนควรปฏิบัติแก่กันโดยไม่แบ่งชนชั้น
                                                                 ขอแสดงความนับถือ                                                       
                                                        สหภาพแรงงานมิชลินประเทศไทย


วันพฤหัสบดีที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2553

ร้องเรียนเรื่องไม่ได้รับความเป็นธรรม

 21 มีนาคม 2552
เรื่อง ไม่ได้รับความเป็นธรรม

เรียน อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
สิ่งที่ส่งมาด้วย  1.บัญชีผู้ถือหุ้น                           6. หนังสือที่บริษัทฯไม่ให้ผู้แทนเจรจาเข้าทำงาน
                2.หนังสือรับรอง                                        7 . ข้อเรียกร้องบริษัทฯยื่นกับพนักงาน 
                        3.บริษัทในเครือสยามมิชลินกรู๊ป        8. บันทึกการเจรจา
                        4.ข้อเรียกร้อง  1 ชุด                                  9 .หนังสือแจ้งพิพาท                             
                        5.งบกำไรขาดทุนปี 48-50                    10 . บันทึกการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท 

เนื่องด้วยพวกกระผมพนักงานบริษัทสยามมิชลิน จำกัด ตั้งอยู่นิคมฯ แหลมฉบัง เลขที่ 87/11 หมู่ 2 ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี บริษัทฯตั้งมาเมื่อ ปี 2531 ทุนจดทะเบียน 3,817,000,000 บาท แบ่งออกเป็น 38,170,000 หุ้น มูลค่าหุ้นละ 100 บาท  มีบริษัทแม่อยู่ประเทศฝรั่งเศส บริษัทสยามมิชลินกรู๊ป จำกัด เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ (เอกสาร 1) มีกรรมการ 7 คนที่มีอำนาจ คือ 1. นายพราชาน พราบู 2.นายคาร์ล ฟริตท์ 3.นายเชน ฦาไชย 4.นายสมชาย สัณห์วิญญู 5.นายอองเดร ดงซาลาซ 6.นายอูเว แจ็คสดัดท์ 7.เฟรดเดอวิด ปาทรคแวงชองท์ (เอกสาร2) บริษัทฯในเครือ 9 บริษัท (เอกสาร 3) ประกอบกิจการประเภทผลิตยางรถยนต์ มิชลิน  ส่งขายภายในประเทศและ ต่างประเทศทั่วโลก ซึ่งยางรถยนต์ที่ผลิตมีคุณภาพดี และมีราคาแพงมาก  มีพนักงานทั้งหมด 1,200 คน ตลอดเวลาที่บริษัทฯได้ดำเนินกิจการมาเป็นเวลา 20 ปี ทำให้บริษัทฯมีผลกำไรอย่างต่อเนื่อง แต่ค่าจ้างและสวัสดิการของพนักงาน กลับไม่ได้ผลตอบแทนในทางที่ดี เมื่อเทียบกับบริษัทอื่นที่ทำกิจการเหมือนกัน ซึ่งบางอย่างบริษัทฯยังละเมิดกฎหมาย เช่น ลาป่วย 1 วันต้องมีใบรับรองแพทย์ การปรับค่าจ้างและเงินโบนัส ก็ไม่ได้รับความเป็นธรรม ส่วนสวัสดิการอื่นๆ ยังได้ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับบริษัทที่ทำกิจการประเภทเดียวกัน ตลอดเวลาที่ผ่านมา พนักงานไม่เคยเรียกร้องอะไรจากบริษัทฯ เพราะไม่มีใครกล้าเป็นตัวแทน กลัวถูกเลิกจ้าง บริษัทฯ ยิ่งทำยิ่งมีกำไรแต่พนักงานกลับแย่ลง ปี 2551 พนักงานได้ทำงานอย่างหนักเพราะบริษัทฯ ลดจำนวนพนักงานลง แต่กลับเพิ่มเป้าการผลิตมากขึ้น พนักงานทุกคนหวังว่าจะได้รับค่าตอบแทนที่ดีขึ้นกว่าเดิม

ปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2552 บริษัทฯได้เรียกพนักงานทั้งหมดประชุมและขอลดค่าจ้างพนักงาน 13.04 %อ้างเหตุผลว่า บริษัทฯมียอดสั่งซื้อลดลง แล้วให้พนักงานลงลายมือชื่อ ยินยอม หากใครไม่ยอมจะข่มขู่ และให้เขียนใบลาออก ก็มีพนักงานบางส่วนไม่ยอมให้หักค่าจ้าง เพราะการหักค่าจ้างนั้นทำให้พนักงานมีผลกระทบได้รับความเดือดร้อน และการกระทำดังกล่าวก็ผิดกฎหมาย หากบริษัทฯประสบปัญหาก็ต้องหาวิธีการอื่นที่มีผลกระทบกับพนักงานน้อยที่สุด ส่วนใครที่ไม่ยอมเซ็นต์ชื่อยินยอม ก็ถูกย้ายงาน หรือเปลี่ยนแปลงเวลาการทำงาน จึงทำให้พนักงานมีการลงลายมือชื่อยื่นข้อเรียกร้องตามกฎหมาย เพื่อปกป้องสิทธิของตัวเอง เมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2552 เวลา 09.00 น.(เอกสาร4 ) เพื่อไม่ให้บริษัทฯหักค่าจ้าง และหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน พร้อมกับให้บริษัทฯได้จ่ายเงินโบนัสเดือนเมษายนเท่ากับปีที่ผ่านมา เพราะเป็นผลตอบแทนในการทำงานของปี 2551
( เอกสาร 5 ) จริง ๆ พวกเราควรจะเรียกร้องให้ได้มากกว่าปีที่แล้ว แต่เพราะเห็นว่าบริษัทฯมีผลกระทบจึงยอมเรียกร้องให้ได้เท่าเดิม


หลังจากยื่นข้อเรียกร้องแล้วบริษัทฯก็ใช้วิธีการเลือกพนักงานให้ไปเซ็นต์ชื่อถอดถอนจากข้อเรียกร้อง โดยการบังคับหากใครไม่ยอมถอนชื่อจะไม่ได้รับโบนัสเดือนเมษายนและหักค่าจ้างเป็น 35%  แต่หากใครยอมถอนชื่อก็จะได้รับโบนัส 2 เดือน  ทำให้พนักงานบางส่วนเกิดความกลัว มีบางคนยอมเซ็นต์ชื่อเพื่อถอนชื่อจากข้อเรียกร้อง และใน
ส่วนผู้แทนเจรจาข้อเรียกร้องบริษัทฯมีหนังสือแจ้งไม่ให้เข้าทำงานแต่ยังจ่ายค่าจ้างให้ตามปกติ (เอกสาร6) มิหนำซ้ำบริษัทฯได้ยื่นข้อเรียกร้องให้กับพนักงานที่ลงลายมือชื่อ เมื่อคืนวันที่ 10 มีนาคม 2552 ปรับลดค่าจ้าง35 % พร้อมลดวันพักร้อนอีก ( เอกสาร 7 )เพื่อเป็นการตอบโต้สำหรับพนักงานที่ไม่ยอมเซ็นต์ชื่อถอนจากข้อเรียกร้อง พนักงานจึงได้ไปร้องเรียนให้กับหัวหน้าสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัดชลบุรีได้รับทราบ และท่านได้สั่งให้นายจ้างได้ยุติการกระทำดังกล่าว แต่นายจ้างกลับไม่สนใจยังดำเนินการต่อไปเพื่อให้ข้อเรียกร้องตกไป

จากการที่พวกกระผมได้ยื่นข้อเรียกร้อง นายจ้างได้นัดเจรจาในวันที่ 12 มีนาคม 2552 แต่การเจรจาไม่สามารถตกลงกันได้ (เอกสาร 8) ทำให้ลูกจ้างแจ้งเป็นข้อพิพาทแรงงาน (เอกสาร 9)ให้กับพนักงานประนอมเข้ามาไกล่เกลี่ย โดยนัดไกล่เกลี่ยเมื่อวันจันทร์ที่ 16 มีนาคม 2552 แต่ยังหาข้อยุติไม่ได้ (เอกสาร 10) จึงนัดไกล่เกลี่ยกันอีกในวันจันทร์ที่ 23 มีนาคม 2552 เวลา14.00น.ณ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจ.ชลบุรีเพื่อหาข้อยุติ ข้อเรียกร้องดังกล่าว

ดังนั้นพวกกระผมจึงร้องเรียนมายังท่านเพื่อขอความอนุเคราะห์ ให้ดำเนินการเพื่อหาข้อยุติในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดดังนี้

1.ให้บริษัทฯยุติการหักค่าจ้างของพนักงานแล้วหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกันโดยมีตัวแทนของพนักงานและ
   บริษัทฯมาช่วยกันแก้ไขปัญหา
2.ให้ยุติการบังคับให้พนักงานเซ็นต์ชื่อถอนจากข้อเรียกร้องเพราะเป็นสิทธิของพนักงานตามกฎหมาย
3.ให้บริษัทฯรับผู้แทนเจรจาข้อเรียกร้องและพนักงานบางส่วน ที่บริษัทฯไม่ให้เข้าทำงานกลับเข้าทำงาน
  ตามปกติ
4.ให้บริษัทฯส่งผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจมาเจรจาข้อเรียกร้องเพื่อหาข้อยุติ 

จากข้อร้องเรียนขอความเป็นธรรมของพวกกระผมทั้งหมดก็เพื่อต้องการให้มีค่าจ้างเพื่อดำรงอยู่ได้ พร้อมกับผลตอบแทนในการทำงานของปีที่ผ่านมา เพราะการหักค่าจ้างเป็นจำนวนมากทำให้พนักงานทุกคนได้รับความเดือดร้อนเพราะค่าจ้างของพนักงานก็ได้ไม่มากมาย  ส่วนผลกระทบเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันที่มีผลกระทบกับบริษัทฯ พนักงานทุกคนก็ยินดีที่จะหาทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า จะได้รับความอนุเคราะห์จากท่านในการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดด้วยดี จึงขอขอบคุณมา ณ โอกาสนี้ด้วย

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

ขอแสดงความนับถือ

................................
(นายธนกร สมสิน)
ประธานผู้แทนเจรจาข้อเรียกร้องฝ่ายลูกจ้าง

แถลงการณ์ฉบับที่ 2

แถลงการณ์
ฉบับที่ 2
กรณีหักค่าจ้าง 13.04 % และไม่จ่ายโบนัส
  สวัสดีพี่น้อง พนักงาน บ.สยามมิชลิน จำกัด
 ตามที่พวกเราพนักงานบริษัทสยามมิชลิน ฯ จำกัด ได้ยื่นข้อเรียกร้องให้บริษัทฯ เมื่อวันที่ 10 มี.ค 52 และบริษัทก็ได้ยื่นข้อเรียกร้องให้กับพนักงานที่ลงลายมือชื่อและมีเหตุการณ์ต่างๆเกิดขึ้นมากมาย ทำให้พวกเราหลายคนสับสนพวกเราจึงขอชี้แจงข้อเท็จจริงไปแนวทางเดียวกันดังนี้
1.ข้อเรียกร้องที่ยื่นเป็นการสิทธิ์ตามกฎหมายโดยการเข้าชื่อให้ได้ 15% ส่วนพนักงานที่เซ็นต์ชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องก็จะได้รับการคุ้มครองตามกฎหมายตามที่แจ้งให้ทราบแล้วนั้นและข้อเรียกร้องไม่ให้หักค่าจ้างและให้จ่ายโบนัสเท่าเดิม ส่วนกรณีที่มีบุคคลภายนอกหรือบางกลุ่มพยายามที่ทำทุกอย่างเพื่อให้พวกเราถอนชื่อออกจากข้อเรียกร้องนั้นก็เพราะว่า เขาต้องการให้ข้อเรียกร้องที่มีคนลงลายมือชื่อไม่ถึง 15%หรือไม่ก็ให้เหลือน้อยที่สุดเพื่อที่จะได้หักค่าจ้างพวกเราหรือจะทำอะไรกับพวกเราก็ได้แต่ถ้าหากพวกเราไม่ถอนชื่อและมาลงลายมือชื่อสนับสนุนกันมาก ๆก็จะนำไปสู่การเจรจากันและมีข้อตกลงร่วมกันการลงชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องหรือถอนชื่อจากข้อเรียกร้องเป็นสิทธิ์ของแต่ละคนแต่สิ่งที่พวกเราทำลงไปก็ทำเพื่อทุกๆคน
2.  การหักค่าจ้าง 13.04% ตามกฎหมายแล้วเขาไม่ให้หักค่าจ้างนอกจากหักเกี่ยวกับเงินประกันสังคม,เงินภาษี,เงินสหกรณ์,เงินค่าบำรุงสหภาพแรงงาน,เงินกองทุน การหักเงินต้องได้รับการยินยอมจากพนักงานก่อนหากเราไม่ยินยอมการหักเงิน 13.04% ก็ไม่สามารถทำได้(พรบ.คุ้มครองแรงงานมาตราที่ 76)
3. การที่บริษัท อ้างว่าถ้าไม่ถอดถอนชื่อจากข้อเรียกร้องจะไม่ได้โบนัสในกรณีดังกล่าวเป็นการข่มขู่เพื่อให้เราถอนชื่อ ส่วนเรื่องของโบนัสทุกคนต้องได้รับอยู่แล้วเพราะเป็นค่าตอบแทนสำหรับการทำงานปี 2551 ที่ผ่านมาเรามีการเจรจาในข้อเรียกร้องอยู่  หากมีการจ่ายให้คนที่ไม่ลงชื่อสนับสนุนพวกเรา 2 เดือน  ก็ขอให้พวกเราสบายใจได้เลยว่า ตอนนี้พวกเรามีเงินโบนัส 2 เดือนอยู่แล้วทุกคน ส่วนจะได้มากกว่าเดิมหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับพวกเราทุกคน
4.ข้อเรียกร้องที่บริษัทได้ยื่นให้กับพนักงานที่ลงลายมือชื่อเพื่อสนับสนุนพวกเราโดยบริษัทอ้างว่าจะลดค่าจ้าง 35% และสวัสดิการอื่นๆนั้นทางผู้แทนเจรจาข้อเรียกร้องของพวกเราไม่ตกลงยอมให้หักอยู่แล้วเพราะหัก 13.04% พวกเรายังไม่ยอมเลย หากเราไม่ยอมตกลงเขาก็หักไม่ได้และจะมาหักเฉพาะกลุ่มยิ่งเป็นไปไม่ได้แสดงให้เห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่มีเหตุผลเป็นการตอบโต้ให้พวกเราเกิดความกลัว
5. กรณีที่บริษัทไม่ให้ตัวแทนพนักงานเข้าทำงานแต่จ่ายค่าจ้างให้และสวัสดิการตามปกติ โดยทั่วไปแล้วสามารถทำได้แต่วิธีการดังกล่าวเป็นการบั่นทอนขวัญกำลังใจ ให้กับผู้สนับสนุนข้อเรียกร้องและสร้างความแตกแยกเพราะมีบางคนบอกว่าตัวแทนโดนซื้อตัวไปแล้วก็ขอให้พวกเราอย่าไปเชื่อคนที่ปล่อยข่าวเพราะบริษัททำหนังสือออกมาชัดเจนว่าไม่ให้เข้าทำงานแต่จ่ายค่าจ้างให้ตามปกติ เพราะการกระทำดังกล่าวเขาต้องการแบ่งแยกแล้วทำลายเป้าหมายของเรา
6. กรณีที่ใครไม่ยอมเซ็นชื่อถอดถอนข้อเรียกร้องแล้วถูกโยกย้ายหน้าที่การงานตามกฎหมายแล้วไม่สามารถทำได้เพราะอยู่ระหว่างการยื่นข้อเรียกร้องห้ามโยกย้ายกลั่นแกล้งพนักงานที่มีลายมือชื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องเพราะการกระทำดังกล่าวขัดต่อกฎหมาย(มาตรา 31)
7. ข้อเรียกร้องที่ยื่นไปอยู่ระหว่างการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทแรงงานซึ่งการไกล่เกลี่ยนั้นก็จะมีทั้งหมด 3 ฝ่าย 1. ตัวแทนพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานสำนักสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน จ.ชลบุรี 2. ผู้แทนบริษัท  3.ผู้แทนฝ่ายลูกจ้างซึ่งมีการนัดหมายกันอีกครั้งในวันที่ 23 มี.ค. 52 เวลา 14.00 น. ที่สำนักงานสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน จ. ชลบุรี ก็ขอให้พี่น้องคอยติดตามหากพวกเราถอนรายชื่อจากข้อเรียกร้องมากๆ ผลการเจรจาอาจไม่มีความคืบหน้าหรือไม่มีการเจรจากัน
8. กรณีที่มีกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออกประกอบด้วยหลายๆสหภาพแรงงานที่มาร่วมชุมนุมกับพวกเรานั้นทุกคนเขาต้องการที่จะให้กำลังใจพวกเราและไม่ต้องการให้พวกเราถูกเอาเปรียบโดยเฉพาะที่บริษัทจะละเมิดกฎหมายทุกคนที่มาต้องการเห็นบริษัทและลูกจ้างหาข้อยุติร่วมกันเพราะทุกคนที่มาก็ไม่มีส่วนได้ส่วนเสียอะไร                                                             9. การชุมนุมของพวกเราก็เป็นสิทธิตามกฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งเราชุมนุมกันอย่างสงบและพวกเราชุมนุมกันหลังเลิกงานเพื่อชี้แจงเกี่ยวกับปัญหาที่เกิดขึ้นให้เราเข้าใจเรื่องสิทธิตามกฎหมาย
10. จากปัญหาที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากกรณีที่บริษัทต้องการให้เราเซ็นต์ชื่อเพื่อหักค่าจ้างด้วยวิธีการต่างๆและเพื่อให้เราถอนชื่อออกจากข้อเรียกร้อง เขาทำเพื่อผลประโยชน์ของพวกเขา  ซึ่งการแก้ไขปัญหานั้นต้องให้พนักงานมีส่วนร่วมในการตัดสินใจเพื่อหาแนวทางแก้ไขปัญหาร่วมกัน
11. เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นพวกเราจึงแจ้งเรื่องที่เกิดขึ้นทั้งหมดให้กับหน่วยงานต่างๆดังนี้
                1. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
                2. อธิบดีกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
                3. ประธานสหพันธ์แรงงานยานยนต์แห่งประเทศไทย
                4. ประธานสมานฉันท์แรงงานไทย
                5. ประธานกลุ่มสหภาพแรงงานภาคตะวันออก
                6. ประธานคณะทำงานกลุ่มแหลมฉบัง
                7. ประธานกลุ่มทำงานแรงงานบ่อวินสัมพันธ์
                8. หัวหน้าสำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
                9. ประธานสหภาพแรงงานผู้ผลิตยางรถยนต์แห่งประเทศไทย
                ดังนั้นจึงขอให้พี่น้องพนักงานสยามมิชลิน จำกัด ได้พิจารณาว่าปัญหาที่เกิดขึ้นทั้งหมดนั้นจะตัดสินใจกันอย่างไรก็เป็นสิทธิของแต่ละคนแต่สิ่งที่ผู้แทนและพี่น้องของท่านทำอยู่ก็เพื่อต้องการปกป้องสิทธิของเราไม่ให้ถูกละเมิดเพื่อศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์อย่าให้ใครมากดขี่ ข่มเหง หากพี่น้องร่วมมือกันทุกคน เราเชื่อว่าต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอย่างแน่นอน
                        **ไม้ซีกน้อยด้อยแรงงัด   หากรวมมัดกันแล้วมุ่ง
                                รวมใจงัดไม้ซุง                    มีหรือมิเคลื่อนไป
                                กำลังอันน้อยนิด                 จะพิชิตอำนาจใหญ่
                                รวมพลังเข้าผลักใส            ใหญ่แค่ไหนไม่อาจทาน
                                มาเถิดไม้ซีกน้อย                                ถึงจะด้อยแต่อาจหาญ
                                สองมือมีแรงงาน                 ใครจะต้านพลังเรา **                       
                                               

                                     * ความสามัคคีเท่านั้นที่ทำให้เกิดสุข *
ด้วยจิตคาราวะ
ผู้แทนพนักงานบริษัทสยามมิชลิน จำกัด

ชี้แจงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการยื่นข้อเรียกร้อง
                                                       ครั้งที่ 1/2552 วันที่ 10 มีนาคม พ.. 2552
เรียน      เพื่อนๆ พนักงาน บริษัท สยาม มิชลิน จำกัด
                เมื่อวัน อังคารที่10 มีนาคม พ.. 2552   ตัวแทนพนักงานได้ยื่นข้อเรียกร้องให้กับบริษัทฯ ทั้งหมด 6 ข้อ โดยยื่นให้กับบริษัทฯ  วัตถุประสงค์ในการยื่นข้อเรียกร้องครั้งนี้เพื่อต้องการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างหรือให้บริษัทฯ จัดสวัสดิการเพิ่มขึ้นให้กับพนักงานทุกคน และการยื่นข้อเรียกร้องครั้งนี้เกิดขึ้นจากความต้องการของทุกคนโดยคำนึงถึงสภาพความเป็นจริงคือ (1)บริษัทฯมีผลประกอบการดีขึ้น  (2) สภาพเศรษฐกิจ (3) สวัสดิการที่มีอยู่ใช้มานานและไม่มีการปรับเพิ่มขึ้น   (4) สร้างขวัญกำลังใจกับพนักงานในการทำงาน  (5) เพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นเพื่อให้เกิดความถูกต้องและเป็นธรรมกับพนักงาน  (6) เป็นการสร้างแรงงานสัมพันธ์ที่ดีต่อกันระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง
                ซึ่งการยื่นข้อเรียกร้องครั้งนี้ เราใช้สิทธิตามที่กฎหมายกำหนดคือ เข้าชื่อกันยื่นเป็นข้อเรียกร้องและแต่งตั้งตัวแทนเจรจา    7 คน  และได้ส่งสำเนาให้สำนักงานสวัสดิการและคุ้มครองแรงงานจังหวัด ชลบุรี ในการยื่นข้อเรียกร้องครั้งนี้พนักงานที่เข้าชื่อยื่นข้อเรียกร้องจะได้สิทธิคุ้มครองตามกฎหมายกำหนด คือ เมื่อมีการยื่นข้อเรียกร้องตามกฎหมาย เมื่อข้อเรียกร้องอยู่ระหว่างการเจรจา การไกล่เกลี่ยหรือชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานตามกฎหมาย ห้ามมิให้นายจ้างเลิกจ้างหรือโยกย้ายหน้าที่การงานของลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง ซึ่งเกี่ยวกับข้อเรียกร้อง  เว้นแต่บุคคลดังกล่าว
(1) ทุจริตต่อหน้าที่หรือกระทำความผิดอาญาโดยเจตนาแก่นายจ้าง   (2) จงใจทำให้นายจ้างได้รับความเสียหาย   (3) ฝ่าฝืนข้อบังคับ ระเบียบ หรือคำสั่งอันชอบด้วยกฎหมายของนายจ้าง โดยนายจ้างได้ว่ากล่าวและตักเตือนเป็นหนังสือแล้ว เว้นแต่กรณีที่ร้ายแรงนายจ้างไม่จำเป็นต้องว่ากล่าวและตักเตือน ทั้งนี้  ข้อบังคับ ระเบียบหรือคำสั่งนั้น ต้องมิได้ออกเพื่อขัดขวางมิให้บุคคลดังกล่าวดำเนินการเกี่ยวกับข้อเรียกร้อง      (4) ละทิ้งหน้าที่เป็นเวลาสามวันทำงานติดต่อกันโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
*  ห้ามมิให้ลูกจ้าง ผู้แทนลูกจ้าง ซึ่งเกี่ยวข้องกับข้อเรียกร้อง สนับสนุนหรือก่อเหตุการนัดหยุดงาน
ขั้นตอนหลังจากยื่นข้อเรียกร้องโดยสังเขปเมื่อบริษัทฯรับข้อเรียกร้องแล้วจะต้องทำเป็นหนังสือแต่งตั้งตัวแทนเจรจาฝ่ายบริษัทฯ พร้อมกับนัดวันเจรจาข้อเรียกร้องภายใน 3 วัน ถ้าทั้งสองฝ่ายเจรจาตกลงกันได้ บริษัทฯต้องทำข้อตกลงไปจดทะเบียนกับแรงงานจังหวัดภายใน 15 วันและติดประกาศให้พนักงานทราบ แต่ถ้าการเจรจาไม่สามารถตกลงกันได้ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องต้องแจ้งให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานภายใน 24 ชม. นับตั้งแต่เวลาที่ตกลงกันไม่ได้ ให้เข้ามาไกล่เกลี่ยเป็นเวลา    5 วัน แต่ถ้าตกลงกันได้บริษัทฯก็นำข้อตกลงไปจดทะเบียน (ตามขั้นตอนที่เสนอเบื้องต้น) แต่ถ้าตกลงกันไม่ได้ทั้งสองฝ่ายอาจตั้งผู้ชี้ขาดหรือนายจ้างใช้สิทธิปิดงานหรือลูกจ้างใช้สิทธินัดหยุดงาน(การหยุดงานไม่ได้รับค่าจ้าง) ซึ่งขั้นตอนการหยุดงานเป็นขั้นตอนสุดท้ายที่ทั้งสองฝ่ายได้มีความพยายามเจรจากันแล้วแต่ตกลงกันไม่ได้ หรืออีกกรณีหนึ่งคือ ถ้าบริษัทฯรับข้อเรียกร้องแล้วไม่นัดเจรจาภายใน 3 วัน ฝ่ายแจ้งข้อเรียกร้องต้องแจ้งให้พนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานภายใน 24 ชม. หลังจากครบ 3 วัน และเจ้าหน้าที่จะเข้ามาไกล่เกลี่ยภายใน 5 วัน ซึ่งเป็นไปตามขั้นตอนที่เสนอเบื้องต้นจนถึงที่สุด
ดังนั้น จึงขอให้เพื่อนๆ ได้สนับสนุนในการยื่นข้อเรียกร้องครั้งนี้ และขอให้ทุกคนคอยติดตามความคืบหน้าต่อไป เพราะข้อเรียกร้องที่ยื่นไปนั้นจะประสบผลสำเร็จหรือไม่ขึ้นอยู่กับความร่วมมือของทุกคนและความจริงใจของบริษัทฯ ที่จะแก้ไขปัญหาร่วมกันซึ่งทั้งสองฝ่ายจะต้องเจรจากันด้วยเหตุผลและผล โดยคำนึงถึงการอยู่ร่วมกันอย่างมีศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ มีความเอื้ออาทรต่อกันแบ่งปันซึ่งกันและกัน เพราะถ้าสังคมอยู่อย่างมีความเข้าใจกันไม่เอารัดเอาเปรียบกันและมีความสามัคคีกัน สังคมนั้นจะอยู่กันอย่างมีความสุข  ดั่งคำพูดที่ว่า                                                                                      
" ความสามัคคีเท่านั้นที่จะทำให้เกิดสุข "
ด้วยศรัทธาและเชื่อมั่น

เรากำลังเริ่มทำข้อมูล

เรากำลังเริ่มอัพเดตข้อมูล

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More